Anti-Static คือ พื้น Epoxy กันไฟฟ้าสถิต ทำให้กะแสไฟฟ้าไหลผ่านออกทางสายดิน ป้องกันกะแสไฟฟ้าสถิตในตัวคน หรือจากสิ่งอื่นๆ ไหลผ่านไปทำปฎิกิริยากับอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคอื่นๆ ความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเกิดได้ตั้งแต่ ผู้ผลิตจนถึง ณ จุดการใช้งาน ความเสียหายเป็นผลมาจากการจับฉวยหรือเข้าใกล้อุปกรณ์นั้นๆโดยไม่มีการระมัดระวังเรื่องการควบคุมไฟฟ้าสถิตเป็นอย่างดีพอ โดยทั่วไปแล้วความหายเสียถูกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เรียกว่าความเสียหายทันที (catastrophic failure) และกลุ่มที่เรียกว่าความเสียหายแบบแฝง (latent defect) ซึ่งทางบริษัท เฟิรสท์คอน เซอร์วิส มีบริการอยู่ 2 ประเภท คือ
Conductive floor (คอนดักทีฟ ฟอร์) เป็นการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า ผ่านสายดินลงสู่พื้น นิยมใช้เป็นพื้นผิวของห้อง CLEANROOM อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก
Dissipative Floor (ดิสสเปทีฟ ฟอร์) เป็นการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า ให้แผ่กะจายออก วัสดุที่เป็นประเภท Static dissipativeจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าอยู่ระหว่างฉนวน และตัวนำอิเล็กตรอนสามารถไหลไปตามพื้นผิวหรือวิ่งผ่านเนื้อในวัสดุประเภท dissipative ได้เช่นเดียวกับฉนวนหรือตัวนำ วัสดุประเภท dissipative สามารถเกิดประจุแบบไทรโบอิเล็กทริกได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามวัสดุประเภท dissipative มีความเหมือนวัสดุประเภท ตัวนำตรงที่มันสามารถปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายประจุจากวัสดุนั้นไปลงดินหรือวัสดุที่เป็นตัวนำอื่นได้แต่การเคลื่อนย้ายประจุของวัสดุที่เป็นประเภท dissipative จะใช้เวลานานกว่าวัสดุประเภทตัวนำ หากว่ามีขนาดเท่ากัน การเคลื่อนย้ายประจุจากวัสดุประเภท dissipative จะทำได้รวดเร็วกว่าฉนวนมากแต่ก็จะช้ากว่าตัวนำ
พื้นที่เหมาะกับการติดตั้ง
• โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
• โรงงานผลิตที่มีผง ฝุ่น แป้ง
• พื้นที่ประกอบด้วยเครื่องอัตโนมัติ
• ห้องควบคุมและห้องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อใช้บริการกับเฟิร์สคอน คอนสตัคชั่น
• การยึดเกาะดีเยี่ยม
• มีความสามารถในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต
• ควบคุมค่าความต้านทานของพื้นผิวอยู่ที่ 106-109 Ω (หรือตามที่ระบุ)
• ป้องกันการเกิดการปะทุของไฟฟ้าสถิต
• ใช้งานง่ายโดยการทาด้วยลูกกลิ้ง, แปรงหรือสเปรย์มีหลายสีให้เลือก